IMPELLERS


Home

>

Training

>

IMPELLERS

1330 views

IMPELLERS

EP-3 : IMPELLERS

มาทำความเข้าใจนิสัยใสใจคอของใบกวนกัน ใบกวนแต่ละชนิดมีนิสัยไม่เหมือนกันนะครับ เหมือนคนนั่นแหละ เช่น เราจะใช้คนใจร้อนทำงานละเอียดไม่ได้ เปรียบเทียบเหมือนเราจะใช้ใบกวนที่นิสัยชอบความเร็วไปทำงานอะไรที่ไม่ต้องการความเร็วไม่ได้ครับ งานจะออกมาไม่ดี หรือ ไม่สามารถทำได้เลยเป็นต้น, จาก EP-1 และ EP-2 เราได้เข้าใจถึง Rheology ภาพรวมแล้ว, เราได้เข้าใจถึงการเลือก Flow Pattern of Impellers ว่าต้องสอดคล้องกับ Rheology ไปแล้ว...EP-3 นี้เราจะเน้นไปที่พฤติกรรม(นิสัย)ของใบกวนแต่ละประเภท, ใบกวนแต่ละแบบมีพฤติกรรมที่ต่างกัน มีความเร็วรอบเฉพาะของมัน มีขีดจำกัดของมัน และที่สำคัญ หากเราจะจับคู่ใบกวนมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป มาอยู่ในถังผสมเดียวกันก็ต้องเลือกใบกวนที่นิสัยไปกันได้ด้วยครับ, ใบกวนบางคู่นี่อยู่ด้วยกันไม่ได้เลยนะครับ เช่น เอาใบที่นิสัยชอบความเร็วมาอยู่คู่กับใบที่นิสัยชอบความช้า แต่ต้องมาอยู่ในเพลาเดียวกัน ต้องใช้คำว่า ไม่มีประโยชน์ครับ สิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ, ผมได้แนบพฤติกรรมของใบกวนไว้..."ตามลิงค์"...ด้านบนแล้วครับลองเข้าไปดูได้ว่าใบกวนแบบไหนมีนิสัยอย่างไร

มาดูตัวอย่างในงานจริงกันเลยครับไม่ต้องเสียเวลา, จากรูปหัวข้อ EP-3 ผมมีแนบมา 3 รูป คือ

(Saw Disc+Scraper)
ผมใช้ใบกวนคู่นี้บ่อยในงานกลุ่ม Non-Newtonian แบบ Thixotropy Flow (Time dependent) ในกระบวนการ Solid-Liquid Dispersion ที่กระบวนการต้องการ Heat Transfer ในระบบด้วย, เปรียบเทียบเป็น Flow Pattern คือ Radial Flow 100% + Tangential flow 100% นั่นเองครับ, การทำงานของใบกวนทั้งคู่ ช่วยลดภาระของ Thixo ตอนที่ Viscosity ยังสูงได้ดี, ช่วยในการ Heat Transfer ได้ดี, และ ช่วยลด Mixing Time ของ Solid-Liquid Dispersion ได้ถึง 1ใน3 (กรณีถังมีขนาดใหญ่ว่า 3,000 ลิตร)

(6-Blades Turbine+Scraper)
ผมใช้ใบกวนคู่นี้บ่อยในงานกลุ่ม Newtonian ที่กระบวนการต้องการ Liquid-Liquid Blending (Miscible Liquid) และ ต้องการ Heat Transfer เน้นสำหรับของเหลวที่มีค่า Viscosity 2,000-10,000 mPa.sec ไม่เกินนี้ครับ, การทำงานของใบกวนทั้งคู่ เน้นเรื่อง Heat Transfer สำหรับของเหลวกลุ่ม Medium Viscosity อย่างเดียวเลยครับ ส่วนการ Mixing นี่สบายๆอยู่แล้วเพราะของเหลวในระบบเป็น Newtonian

(Saw Disc+Saw Disc)
แน่นอนครับ ว่าเค้าคือใบกวนชนิดเดียวกันมีนิสัยเหมือนกันเลยอยู่กันได้ แต่หากใช้ใบกวน Saw Disc มาอยู่ในเพลาเดียวกันกับใบกวน Turbine นี่คือไม่ได้เลยนะครับ ถือว่าเสียรางวัดมากสำหรับนักออกแบบ เพราะนิสัยเค้าไม่เหมือนกัน ตัวนึงใจร้อน อีกตัวใจเย็น ต้องเลือกครับว่าจะให้ตัวไหนทำงานได้ดี หากเลือกตัวใจร้อนท่านจะเปลืองพลังงานโดยเปล่าประโยชน์เพราะ Turbine, หากเลือกให้ตัวใจเย็นทำงานท่านจะพบว่า จะใส่ตัวใจร้อนลงไปทำอะไรไม่มีประโยชน์อะไรเลย เป็นต้นครับ, อ้อ..ส่วนใบกวนตามรูปที่เห็น ผมใช้ในกระบวนการ Solid-Liquid Mixing งาน Newtonian ที่มีค่าความหนืดอยู่กลุ่ม Low Viscosity ครับ

ที่นี้เรามาว่ากันที่ "ทฤษฏีในตำรา" กันต่อ เรื่องประเภทของใบกวนแยกตามลักษณะของกระบวนการผลิต ดังนี้ครับ

(1). Liquid-Liquid Mixing (Miscible Liquid) : เป็นกระบวนการผสมของเหลวค่อนข้างง่ายเพราะของเหลวมีความสามารถในการเข้ากันได้ดีอยู่แล้ว ใบกวนที่ใช้ควรคำนึงถึงขนาดของถัง, ปริมาตร, ฟองที่อาจจะเกิดในกระบวนการ ชนิดของใบกวนที่ใช้งาน เช่น Propeller, 4-6Blades Turbine, Jet Cone, Trapezoil Beam, 2Blade Cross Beam

(2). Liquid-Liquid Emulsion (Immiscible Liquid) : กระบวนการผสมที่ต้องการ Fluid Shear Force, Reduce Particle Size ใบกวนที่เหมาะสม เช่น Rotor-Stator / High Shear Mixer, Saw Disc

(3). Solid-Liquid Mixing : ชนิดของใบกวนที่เลือก, อัตราส่วน d/D, ขึ้นกับความสามารถในการทำละลายของ Solid - Liquid และ %Solid เป็นสำคัญ ใบกวนที่เหมาะสม เช่น Prpeller, High Efficiency Impeller, 6 Blades Turbine

(4). Solid-Liquid Dispersion : กระบวนการที่ต้องการ Fluod Shear Force และ ต้องการการเคลื่อนตัวของเหลวด้วยความเร็วสูง (High Speed Disperser) ใบกวนที่เหมาะสม เช่น Saw Disc, Flat Blade Turbine

(5). Solid-Liquid Slurry : ส่วนใหญ่พบในกระบวนการ Storage แต่เป็น Storage ที่ออกแบบใบกวนไม่ง่ายเลย เนื่องจากพฤติกรรมของ Slurry จะมี SG สูงและตกตะกอน ใบกวนต้องมีประสิทธิภาพสูง เหมาะกับกลุ่มของเหลว SG สูง เช่น 6Blades Turbine, High Efficiency Impeller, Modify Pitch Blade

(6). Gas-Liquid Suspension : กระบวนการที่ต้องการ Flow Pattern แบบ Radius เท่านั้นเนื่องจาก Gas มีพฤติกรรมลอยหนีของเหลว ใบกวนต้องมี Radius Flow Pattern และ ต้องการความเร็วเคลื่อนตัวของของเหลวในระดับที่สูง ใบกวนเลือกใช้ Flat Blade Turbine, Modify Flat Blade Turbine

(7). Liquid-Liquid Large Storage : เป็นงานไม่ง่ายสำหรับการออกแบบใบกวน เนื่องจากของเหลวต้องการความปั่นป่วนที่ทั่วถึง ในขณะที่ถังมีขนาดใหญ่ ถังควรมี Buffle Plate ใบกวนเลือกใช้ เช่น High Efficiency Impeller, 6-Blades Turbine, Trapezoil Beam

(8). Liquid Heat Transfer : กระบวนการที่ต้องการ Heat Transfer ไม่ว่าจะเป็นการ Heating หรือ Cooling ใบกวนที่เหมาะสมที่สุด คือ Co-Axial Mixer, Co-axial Disperser เนื่องจากใบกวนแยกอิสระในการทำงาน เพราะโดยส่วนใหญ่กระบวนการ Heat Transfer จะต้องมีการ mixing, dispersion อย่างใดอย่างหนึ่งรวมอยู่ด้วยเสมอ

(9). Liquid Mixing-Low Shear : กระบวนการผลิตที่ต้องการ Fluid low shear เช่น การผสมของเหลวกลุ่มPolymer,การผสมของเหลวกลุ่มน้ำยาทำความสะอาดที่ไม่ต้องการฟองในกระบวนการผสม ใบกวนใช้งาน อาทิเช่น Angle Bar Blade with Baffle, Jet Cone with Baffle

 

Cr. สถาพร เลี้ยงศิริกูล
Tel : 091.7400.555
Line : sataporn.miscible
Miscible Technology Co.,Ltd.




Blogs

-

High Shear Mixer_Ep.4

อ้างอิงจาก The Effect of Stator Geometry on the Flow Pattern and Energy Dissipation Rate in a Rotor-Stator Mixer / A.Utomo, M.Baker, A.W.Pacek / 2009, ขอแสดงทัศนะให้สอดคล้องจาก Ep ที่ผ่านมาที่ว่าด้วย du/dr ครับ อ้างอิงจากผู้วิจัย ได้ทำการใช้ CFD ในเพื่อศึกษา Vector ของความเร็ว ซึ่งจากรูปจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของภาวะของระบบ (ความเร็ว) นั้นบ่งบอกถึงทิศทางและขนาดของภาวะ โดยมี Max.Velocity 6m/sec (จริงๆน้อยนะครับ) แต่ใช้ค่า Max-Min ศึกษาได้, กล่าวคือ Head ของ Stator ที่เป็นรูใหญ่จะสร้าง Velocity Drop น้อย และ รูแบบ Slot, รูแบบเล็ก ตามลำดับ นั่นแสดงว่า Shear Rate ของ Head ที่มีรูขนาดเล็กให้ du ที่มีค่ามากที่สุด (ตัด dr ออกเนื่องด้วย Gab ของ Rotor-Stator จาก CFD มีค่าเท่ากัน) นั่นคือ รูขนาดเล็กสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบในลักษณะ Emulsion ได้ดีที่สุด สอดคล้องกับสมการที่เคยกล่าวมา แต่....จาก Vector ของความเร็วจะเห็นได้ว่า Stator Head ของรูขนาดเล็กก็ทำให้เกิด Dead Zone of Mixing ได้ง่ายเช่นกัน ตรงนี้บ่งบอกอะไร บ่งบอกว่าการเลือกใช้งานสัดส่วน d/D ของ Rotor-Stator นั่นไม่เหมาะกับถังขนาดใหญ่ หรือ หากต้องการใช้ก็จำเป็นต้องมีเครื่องกวนอีกประเภทที่สามารถขจัด Dead Zone of Mixing ได้ ในลักษณะของ Scraper นั่นเองครับ การทำ CFD มีวัตถุประสงค์และประโยชน์ประมาณนี้เลยครับ แต่มักจะเข้าใจผิดกันว่า CFD คือ สิ่งที่สามารถบอก Mixing Time ได้, บอกกำลังของต้นกำลังได้ ไม่ใช่แบบนั้นครับ ปริมาณในเชิง Scalar ต้องคำนวณครับ, ส่วนปริมาณเชิง Vactor ก็เหมาะกับการทำ Simulation และ ในงานของ Fluid Mixing เราจะใช้ CFD ในการดูแนวโน้มของ Flow Pattern ของใบกวนมากที่สุด (เน้นบริเวณใกล้ๆใบกวนด้วยครับ)

Next