High Shear Mixer_Ep.1


Home

>

Training

>

High Shear Mixer_Ep.1

784 views

-

High Shear Mixer_Ep.1
หากเราจะตั้งคำถามว่า ทำไม High Shear Mixer ถึงเป็นเครื่องผสมที่ยากที่จะออกแบบและผลิตขึ้นมาใช้งาน, ความสัมพันธ์ของสมการจากการทดลองสามารถนำมาใช้งานอะไรได้บ้าง อาจจะต้องเริ่มต้นย้อนกลับไปไกลหน่อยที่ กฏของนิวตันสักเล็กน้อยที่กล่าวว่า ผลรวมของแรงใดๆ ส่งผลให้ ระบบซึ่งมีภาวะการต้านทานการเคลื่อนที่ (มวล)มีการเปลี่ยนแปลงความเร็วเมื่อเทียบกับเวลา หรือ กล่าวว่า ผลรวมของแรง ส่งผลให้ระบบไม่สามารถรักษาภาวะการเคลื่อนภายใต้กรอบอ้างอิงไว้ได้ โดยมี แรง เป็น เหตุ

เมื่อเราพิจารณาแรงที่กระทำต่อพื้นที่ในลักษณะของการไหล คือ เราจะเรียกลักษณะดังกล่าวว่า การเฉือน (Shear) ซึ่งจะเป็นแรงที่เอาชนะแรงดึงดูดระหว่างมวลของของเหลว และ เราจะมีคำนิยามใหม่เกิดขึ้น คือ ค่าความเค้นเฉือน (Shear Stress) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ของแรงที่กระทำต่อพื้นที่รับแรง ดังนั้นจะมีหน่วยเป็น N/M^2 (โดย 1N = 1kg x 1m/s^2) ซึ่งจริงๆแล้วมวลนั่นเป็นนามธรรมที่แสดงการต้านการเคลื่อนที่นะครับ เพียงแต่เราให้หน่วนเป็น kg , และ จะมีคำนิยามอีกตัวที่สำคัญคือ อัตราเฉือน (Shear Rate) ซึ่งคือ การแสดงความเกี่ยวข้องกันของปริมาณของความเร็วและระยะทางแผ่นชั้นของของเหลว (อัตรา คือ การแสดงความเกี่ยวข้องกันของปริมาณสองปริมาณ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหน่วยเดียวกันก็ได้นะครับ) ซึ่งจะได้หน่วยเป็น 1/sec ((m/sec) / (m)) และ เมื่อทั่ง Shear Stress และ Shear Rate เกี่ยวข้องกับความเร็ว ก็จะส่งผลให้ Shear Stress แปลผันตาม Shear Rate และ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ออกมาเป็นค่าคงที่ค่านึง ซึ่งเราอาจจะนิยามง่ายๆว่าคือ ความหนืดก็ได้ไม่ผิดครับ หรือ จะเรียกเป็นสัมประสิทธิ์ของความหนืดเฉือนก็ได้ ดังนั่นหน่วยของความหนืด (Viscosity) จะมีหน่วยเป็น N.Sec/M^2 และ โดยมากจะลดรูปโดยใช้หน่วย Pascal(Pa) แทนหน่วยของ N/M^2 ดังนั้นหน่วยสากลของความหนืด คือ Pa.s นั่นเองครับ (น้ำมีความหนืด = 1mPa.s = 1000000Pa.s)

เมื่อพิจารณาในลักษณะของอนุพันธ์ (Derivative) จากนิยามข้างต้นในส่วนของ Shear Rate คือ du/dr (u = ความเร็ว, r = ความหนาของแผ่นชั้นของเหลว) จะพบว่าหาก du มีค่ามากจะทำให้เกิด Shear Rate สูง เมื่อมี Shear Rate สูงก็จะทำให้สามารถเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างมวลของของเหลวได้ ทำให้ของอนุภาคของของเหลวมีขนาดเล็กลงและไปแทรกกับอนุภาคของของเหลวอื่นได้ หรือ หากมีการเติมของเหลวบางชนิดเข้าไปเพื่อให้มันแทรกอยู่ตรงกลางระหว่างของเหลวสองชนิดที่ไม่สามารถจะผสมกันได้ก็จะสามารถทำให้เกิดการแทรกสอดเกิดขึ้นและของเหลวจะไม่สามารถกลับไปรวมกันได้อีก, ดังนั่นการออกแบบเครื่องผสมที่ให้ Shear Rate ที่สูงนั่นจะมีประโยชน์ในลักษณะดังกล่าวนั่นเองครับ, มองลึกลงไปอีกสักเล็กน้อยคือ การออกแบบ High Shear Mixer จะมีลักษณะของการทำให้ของไหลไหลผ่านด้วยความเร็วสูงออกผ่านช่อง,รู ที่ไม่เคลื่อนที่ กล่าวคือ การที่ของเหลวมีความเร็วสูงมาปะทะส่วนของรูที่ไม่เคลื่อนที่ทำให้ du มีค่ามากขึ้น (ความเร็วตอนปะทะเท่ากับศูนย์) ส่งผลให้ Shear Rate นั่นสูงขึ้นนั่นเองครับ แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ High Shear Mixer สามารถทำให้ของเหลวได้รับ Shear Rate ที่สูงไม่ใช่เพียงแค่ du สูงเท่านั้น เอาไว้ค่อยมาเล่าสู่กันฟังในครั้งถัดๆไปครับ

สถาพร เลี้ยงศิริกูล
บจก.มิสซิเบิล เทคโนโลยี
 




Blogs

-

High Shear Mixer_Ep.4

อ้างอิงจาก The Effect of Stator Geometry on the Flow Pattern and Energy Dissipation Rate in a Rotor-Stator Mixer / A.Utomo, M.Baker, A.W.Pacek / 2009, ขอแสดงทัศนะให้สอดคล้องจาก Ep ที่ผ่านมาที่ว่าด้วย du/dr ครับ อ้างอิงจากผู้วิจัย ได้ทำการใช้ CFD ในเพื่อศึกษา Vector ของความเร็ว ซึ่งจากรูปจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของภาวะของระบบ (ความเร็ว) นั้นบ่งบอกถึงทิศทางและขนาดของภาวะ โดยมี Max.Velocity 6m/sec (จริงๆน้อยนะครับ) แต่ใช้ค่า Max-Min ศึกษาได้, กล่าวคือ Head ของ Stator ที่เป็นรูใหญ่จะสร้าง Velocity Drop น้อย และ รูแบบ Slot, รูแบบเล็ก ตามลำดับ นั่นแสดงว่า Shear Rate ของ Head ที่มีรูขนาดเล็กให้ du ที่มีค่ามากที่สุด (ตัด dr ออกเนื่องด้วย Gab ของ Rotor-Stator จาก CFD มีค่าเท่ากัน) นั่นคือ รูขนาดเล็กสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบในลักษณะ Emulsion ได้ดีที่สุด สอดคล้องกับสมการที่เคยกล่าวมา แต่....จาก Vector ของความเร็วจะเห็นได้ว่า Stator Head ของรูขนาดเล็กก็ทำให้เกิด Dead Zone of Mixing ได้ง่ายเช่นกัน ตรงนี้บ่งบอกอะไร บ่งบอกว่าการเลือกใช้งานสัดส่วน d/D ของ Rotor-Stator นั่นไม่เหมาะกับถังขนาดใหญ่ หรือ หากต้องการใช้ก็จำเป็นต้องมีเครื่องกวนอีกประเภทที่สามารถขจัด Dead Zone of Mixing ได้ ในลักษณะของ Scraper นั่นเองครับ การทำ CFD มีวัตถุประสงค์และประโยชน์ประมาณนี้เลยครับ แต่มักจะเข้าใจผิดกันว่า CFD คือ สิ่งที่สามารถบอก Mixing Time ได้, บอกกำลังของต้นกำลังได้ ไม่ใช่แบบนั้นครับ ปริมาณในเชิง Scalar ต้องคำนวณครับ, ส่วนปริมาณเชิง Vactor ก็เหมาะกับการทำ Simulation และ ในงานของ Fluid Mixing เราจะใช้ CFD ในการดูแนวโน้มของ Flow Pattern ของใบกวนมากที่สุด (เน้นบริเวณใกล้ๆใบกวนด้วยครับ)

Next