Dissolution of solids in Liquid without reaction..(2)


Home

>

R&D

>

Dissolution of solids in Liquid without reaction..(2)

630 views

Dissolution of solids in Liquid without reaction..(2)

 

RESEARCH & DEVELOPMENT
MISCIBLE AGITATOR TESTING CENTER
Dissolution of solids in Liquid without reaction..(2)
[Flatblade.T+Flatblade.U]
[Flatblade.T+Flatblade.U+Flodblade]
[Viscrop.4B]
[Viscrop.4B with Baffle Plate]

จุดประสงค์ของการทดลอง คือ
เพื่อศึกษาว่า Multi Stages Impeller และ Baffle Plate มีผลต่องาน Dissolution of solids in Liquid without reaction หรือไม่

อุปกรณ์ในการทดลอง
(1). Tank Dia. 200 mm x SH. 300 mm
(2). Liquid level. 250 mm โดยใช้ของเหลว คือ น้ำ
(3). Volume of Solid (Salt) ตวงเกลือใส่ภาชนะขนาด Dia. 50 mm x SH. 40 mm

ขั้นตอนการทดลอง
(1). ทดสอบใบกวนกับน้ำเปล่าก่อนทำการทดสอบจริงเพื่อกำหนดให้ Reynolds in Actual (เป็นคำที่ผมใช้เรียก) มีค่าเท่ากัน โดย Reynolds in Actual นั้น ผมถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการทำงานจริงๆ เนื่องจากทางทฤษฏีแล้วการหา Reynold เพื่อกำหนดค่าความปั่นป่วนใช้ characteristic length สำคัญเฉพาะ Dia.of Impeller เท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วมี characteristic length อื่นที่ต้องคิดมากมายทำให้ค่า Re ทางทฤษฏีนั้นเป็นเรื่องซับซ้อนและเข้าใจยากสักหน่อยสำหรับงานด้าน Fluid Mixing เว้นแต่จะเจองานจริงๆมาเยอะถึงจะเข้าใจได้ว่า characteristic length มีผลต่อ Reynolds in Actual แบบไหนอย่างไร

(2). จากข้อหนึ่งผมต้องทดสอบเพื่อให้ใบกวนแต่ละชนิดสร้าง Vortex Deepness ที่เท่ากันคือ 80 mm จาก Top liquid level ด้วยเหตุผลที่ใบกวนแต่ละใบนั้นมีพฤติกรรมต่างกันหากนำมาทดสอบโดยใช้ความเร็วรอบที่เท่ากันนั้นไม่ได้เลยครับ และจากการควบคุม Reynolds in Actual ผ่านทางการปรับ Vortex Deepness ให้เท่ากันแล้ว ผมก็ได้ Output Speed ออกมา คือ 
[Flatblade.T+Flatblade.U = 390 RPM]
[Flatblade.T+Flatblade.U+Flodblade = 360RPM]
[Viscrop.4B = 295RPM]
[Viscrop.4B with Baffle Plate = 295RPM]

(3). Dia.of Impeller คือ 
[Flatblade.T+Flatblade.U = 70mm]
[Flatblade.T+Flatblade.U+Flodblade = 70mm]
[Viscrop.4B = 120mm]
[Viscrop.4B with Baffle Plate = 120mm]

(4). เทเกลือลงไปก่อนเริ่มเดินใบกวนตามความเร็วรอบต่างๆที่ตั้งค่าไว้โดยใช้ Inverter ในการควบคุม

(5). เริ่มเดินใบกวนตามรอบที่กำหนดจากข้อ.2 โดยใช้เวลาในการทำงาน 30 วินาที และ หยุดการทำงานของใบกวน

สรุปผลการทดสอบ
(1). จาก 2 คลิปด้านบนนั้น Multi Stages of Impeller ไม่มีผลต่ออัตราการละลายที่เร็วขึ้น ในเมื่อ Reynolds in Actual ยังเท่าเดิม (คือผมทดลองให้ Reynolds in Actual เท่ากับการทดลองคราวก่อนด้วยเช่นกัน)

(2). ปริมาณเกลือที่เหลืออยู่หลังหยุดเดินใบกวนนั้นมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน แต่จะเห็นว่าใบกวนในคลิป Flatblade.T+Flatblade.U+Flodblade นั้นมีอัตราการละลายที่ต่ำกว่าทุกคลิป 

(3). จากข้อ.2 ค่า Reynolds in Actual จะลดลงเนื่องจากการมีใบกวน 3 Stages นั้นจะไปทำให้ Reynolds in Actual ลดลงส่งผลให้อัตราการละลายต่ำลงกว่าคลิปอื่นๆ

(4). ผมลองใช้ใบกวนที่มีประสิทธิภาพสูง คือ Viscrop.4B เพื่อหวังว่าชนิดของใบกวนนี้จะทำให้อัตราการละลายดีขึ้น เนื่องจากมี Flow Pattern ที่ดีเยี่ยม (แต่ Reynolds in Actual ยังเท่าเดิม) ผลก็คืออัตราการละลายเท่าเดิม

(5). ผมลองทดสอบ Off Center และ มี Baffle Plate เพื่อให้ Flow Pattern นั้นมีการผสมแบบสมบูรณ์ที่สุด ลด Vortex ลด Dead Zone of Mixing แต่อัตราการละลายก็ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยยะ

(6). ข้อสรุปสุดท้ายจากการทดสอบมา 2 ครั้ง คือ Reynolds in Actual นั้นสำคัญที่สุด และเป็นตัวบ่งบอกอัตราการละลายได้ดีที่สุด

(7). เราไม่อาจจะสรุปงาน Dissolution of solids in Liquid without reaction ได้จากสูตรการคำนวณ และ ผลของการคำนวณเพียงอย่างเดียว

Thank You
Mr.Sataporn Liengsirikul
(Agitator Designer)
ID Line : sataporn.apl
Miscible Technology Co., Ltd
www.miscible.co.th




Blogs